สมัยกรุงธนบุรี


พระพุทธศาสนา สมัยกรุงธนบุรีปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่ายกทัพเข้าตีจนบ้านเมืองแตกยับเยิน พม่าได้ทำลายบ้านเมืองเสียหายย่อยยับ เก็บเอาทรัพย์สินไป กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่งพระสงฆ์ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ครั้นต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำในการกอบกู้อิสระภาพ สามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ทรงตั้งราชธานีใหม่ คือเมืองธนบุรี ทรงครองราชและปกครองแผ่นดินสืบมา ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างวัดเพิ่มเติมอีกมาก ทรงรับภาระบำรุงพระพุทธศาสนารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมือง มาคัดเลือกจัดเป็นฉบับหลวง แต่ไม่ยังทันเสร็จบริบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ต่อมา พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพไทยได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มายังประเทศไทย ภายหลังพระองค์ถูกสำเร็จโทษเป็นอันสิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรี


นรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระเจ้ากรุงธนบุรี) พระนามเดิมว่า “พระยาวชิรปราการ” ขึ้นครองราชย์ได้ประมาณ 15 ปี (พ. ศ. 2310–2325) ซึ่งพระองค์ท่านเคยบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนามาก่อน มีความรอบรู้แตกฉานในพระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดในด้านศาสนธรรม เนื่องจากบ้านเมืองได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพม่าข้าศึกอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพระองค์กู้ชาติขึ้นมาได้แล้วก็เกิดมีก๊กต่าง ๆ เกิดขึ้น 4 ก๊ก คือ

1. ก๊กสมเด็จเจ้าพระฝาง ตั้งขึ้นที่ สวางคบุรี(อุตตรดิตถ์)
2. ก๊กพิมาย
3. ก๊กนครศรีธรรมราช
4. และก๊กของพระเจ้าตากสินเอง

ทรงเริ่มทำงานที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาหลายประการ เช่น
  1. จัดสังฆมณฑลให้เรียบร้อย ประชุมพระสงฆ์ที่วัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆัง) และแต่งตั้งสังฆราช ในสมัยของพระองค์มีสังฆราชปกครองสังฆมณฑลถึง 3 พระองค์ตามลำดับดังนี้ (1) สมเด็จพระสังฆราช (ดี วัดประดู่) (2) สมเด็จพระสังฆราช (ศรี วัดพนัญเชิง) (3) สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น)
     
  2. ทรงบูรณะพระอารามต่าง ๆ ประมาณ 200 หลัง เช่น อุโบสถ , วิหาร , เสนาสนะ
     
  3. ทรงสนับสนุนการเรียนพระไตรปิฎก จัดตั้งฝ่ายสังฆการี ธรรมการ หรือแผนกทำบัญชีพระสงฆ์ ได้พระราชทานไตรจีวร 1 ไตรแก่พระภิกษุผู้ศึกษาพระไตรปิฎกพร้อมทั้งถวายปัจจัยรูปละ 1 บาท และให้ช่างศิลป์จัดการเขียนจิตกรรมสมุดภาพไตรภูมิพระร่วง
     
  4. ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาที่นครศรีธรรมราช โดยการถวายปัจจัยแก่วัดต่าง ๆ ถวายปัจจัยแก่พระภิกษุ-สามเณรรูปละ 1 บาท และถวายข้าวสารรูปละ 1 ถุง พร้อมทั้งถวายผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรที่ขาดแคลน หลังจากนั้นได้พระราชทานปัจจัยผู้ยากจนที่มาถือศีลในวันอุโบสถคนละ 1 สลึง
     
  5. ทรงได้ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตก็มี เช่น พระเทพกวี เป็นต้นรวมพระไตรปิฎกให้สมบูรณ์มากขึ้น เพราะในขณะนั้นพระไตรปิฎกถูกพม่าเผาเสียจึงขาดหายไปบางคัมภีร์ และได้นำหนังสือวิสุทธิมรรคจากนครศรีธรรมราชมาที่กรุงธนบุรี
     
  6. ทรงชำระพระอลัชชี เกิดจากการที่พระเข้าไปร่วมในกองทัพในก๊กเจ้าพระฝาง ซึ่งในทางหลักของพระวินัยแล้ว พระร่วมกันไปฆ่าคนหรือไปลักทรัพย์เขาเป็นเจตนาร่วมกัน แม้จะไปทำเพียงรูปสองรูปก็ชื่อว่าเป็นปาราชิกไปทั้งหมด ดังนั้น พระองค์จึงทรงเกิดความรังเกียจ สงสัยเนื่องจากไม่รู้ว่าใครเป็นใครอาศัยความเชื่อมั่นศรัทธาในคุณานุภาพแห่งพระรัตนตรัย และบรรดาสิ่งศักดิ์ทั้งหลายก็ได้เอาพระมาพิสูจน์ทดสอบด้านการดำน้ำเรียกว่า 3 กลั้นใจ ผู้ใดชนะแก่นาฬิกาก็ให้เป็นพระอยู่ต่อไป รูปใดที่ดำอยู่ไม่นานก็ให้สึกออกไป และให้จัดการอุปสมบทพระสงฆ์ทางเมืองเหนือเป็นอันมาก ซึ่งพิธีชำระพระอลัชชีนี้พระองค์เริ่มจัดขึ้นในวันอังคารขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ประมาณ พ. ศ. 2313 โปรดให้ “ พระโพธิวงศาจารย์” ไปอยู่ประจำที่พิษณุโลก “พระพิมลธรรม” ไปอยู่ที่เมืองขวาง “พระธรรมเจดีย์” อยู่ที่ทุ่งยั้ง “พระธรรมอุดม” อยู่ที่เมืองพิชัย “พระเทพกวี” อยู่ที่เมืองสวรรคโลก “พระพรหมมุนี” ไปอยู่ที่ สุโขทัย เพื่อชำระสะสางพระศาสนา
     
  7. การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยนี้มีอยู่ 2 ฝ่าย คือ
    (1) ฝ่ายคามวาสี
    (2) ฝ่ายอรัญวาสี
    และฝ่ายคามวาสีก็แบ่งไปอีกเป็น 2 ฝ่าย คือ คามวาสีฝ่ายขวา และ คามวาสีฝ่ายซ้าย และพระองค์ได้พระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องหนึ่ง มีชื่อว่า “ลักษณะบุญ” เป็นหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมชั้นสูง (วิปัสสนา)
พระองค์เมื่อเสด็จไปที่นครศรีธรรมราช ได้ไปทำพระไตรปิฎก และอาราธนาพระอาจารย์ศรีมา ซึ่งต่อมาก็ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช คัมภีร์พระพุทธศาสนาส่วนใดที่ยังบกพร่องก็สืบเสาะหามาชำระคัดลอกเก็บรักษาไว้ ทั้งไปเอามาจากนครศรีธรรมราชบ้าง กัมพูชาบ้าง ในตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ก็ได้สนพระทัยในการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเป็นพิเศษ
ขอบคุณข้อมูลจาก     บ้านจอมยุทธ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น